รายละเอียดประวัติโปรแกรม


คลิกบนหัวข้อที่คุณต้องการอ่าน

สิ่งใหม่วันที่ 2 เม.ย. 2543 (รุ่น 3.2)

วิธีใช้โปรแกรมได้รับการดีไซน์ใหม่ให้ใช้สะดวกมากขึ้น
หน้าคำถามจากผู้ใช้ในวิธีใช้ได้รับการอัพเดทเพื่อให้ครอบคลุมคำถามใหม่ที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โปรแกรม และเรื่องผู้พยายามเลียนแบบชื่อโปรแกรมไทยเบราเซอร์
หน้าต่างตัวเลือก เมนูวิธีใช้ และเมนูคลังเว็บไซต์ได้รับการปรับปรุงใหม่

สิ่งใหม่วันที่ 1 ม.ค. 2543 (รุ่น 3.1.5)

ไทยเบราเซอร์สามารถท่องอินเทอร์เน็ตแบบออฟไลน์ได้ โปรดอ่านรายละเอียดในวิธีใช้ไทยเบราเซอร์
ไทยเบราเซอร์ใช้แถบเครื่องมือแบบใหม่ซึ่งคุณสามารถขยับเลื่อนขึ้นลง หรือจัดแถบเครื่องมือทั้งสองให้อยู่ในระดับเดียวกันเพื่อเพิ่มเนื้อที่ตัวเบราเซอร์ได้
แถบความคืบหน้าการดึงข้อมูล (Progress bar) ตามคำเรียกร้อง เมื่อไทยเบราเซอร์เริ่มต้นการดึงข้อมูลเพื่อแสดงเว็บเพจ โปรแกรมจะแสดงแถบดังกล่าวเพื่อบอกให้คุณทราบว่าโปรแกรมได้ดึงข้อมูลได้มากน้อยเท่าใดแล้ว
ไทยเบราเซอร์ให้คุณกำหนดว่าโปรแกรมอีเมล์ของคุณคืออะไร และช่วยคุณเรียกโปรแกรมนั้นได้จากในไทยเบราเซอร์โดยตรง (เมนูเครื่องมือ)
พร้อมกับแถบความคืบหน้าการดึงข้อมูลนี้ ไทยเบราเซอร์จะแสดงโลโก้ภาพเคลื่อนไหวของโปรแกรม (ดังรูปด้านบนของหน้านี้) เพื่อแสดงว่าโปรแกรมกำลังดึงข้อมูลเช่นกัน
การจัดระเบียบเมนูใหม่ มีเมนูมุมมองเพิ่มขึ้นมา เนื่องจากโปรแกรมมีคำสั่งใหม่ๆและคำสั่งเดิมที่มีอยู่แล้วที่สามารถเข้ามาอยู่ในกลุ่มคำสั่งนี้ได้ ทำให้การจำตำแหน่งคำสั่งต่างๆง่ายมากขึ้น
นอกจากนี้ โปรแกรมยังมีไอคอนใหม่อีกด้วย
โปรแกรมสามารถแสดงรหัส HTML ได้ (เมนูมุมมอง คำสั่งแสดงรหัส HTML ของเว็บเพจ)
เมื่อคุณเลือกคำสั่งที่ค่อนข้างจะใช้งานยากเป็นครั้งแรก ไทยเบราเซอร์จะเสนอวิธีใช้การใช้คำสั่งนั้น เมื่อคุณไม่ต้องการให้ไทยเบราเซอร์แสดงวิธีใช้ครั้งแรกนั้นอีก ให้กาเครื่องหมายหน้าช่องคำสั่งในหน้าต่างวิธีใช้ครั้งแรกนั้น
ไทยเบราเซอร์สามารถเก็บบันทึกทางลัดอินเทอร์เน็ต (Internet shortcut) ได้โดยตรงจากหน้าต่างโปรแกรม โดยที่โปรแกรมจะเสนอโฟลเดอร์ windows\favorites ให้โดยอัตโนมัติ
คุณสามารถแทรกที่อยู่เว็บไซต์ส่วนตัวได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องผ่านทางหน้าต่างตัวเลือกอีกต่อไป ทำให้การสร้างรายการเมนูคลังเว็บไซต์ส่วนตัวง่ายขึ้นมาก
หน้าต่างเปิดแฟ้มมีตัวเลือกรูปแบบแฟ้มเพิ่มมากขึ้น
ในรุ่นที่ 3 นี้ ไทยเบราเซอร์ต้องการเฉพาะแฟ้ม runtime ของ Visual Basic 6 เท่านั้น
ตั้งแต่รุ่นที่ 3 นี้เป็นต้นไป เครื่องหมายหน้าตัวเลือกห้ามเปิดหน้าต่างเอกเทศ และเครื่องหมายเดียวกันหน้าตัวเลือกใช้ไทยเบราเซอร์ในการเปิดหน้าต่างใหม่ จะแสดงค่าที่คุณตั้งไว้ในหน้าต่างไทยเบราเซอร์ทุกหน้าต่างที่ได้สร้างหรือที่คุณได้เปิดไว้ นอกจากนี้ ปัญหาการตั้งค่าการห้ามเปิดหน้าต่างเอกเทศที่เกิดขึ้นในรุ่นก่อน (คือเมื่อคุณเปิดและปิดหน้าต่างตัวเลือก ในบางครั้งโปรแกรมรุ่นเก่าจะเปลี่ยนค่ามาเป็นการห้ามการเปิดหน้าต่างใหม่โดยที่คุณไม่ได้เลือกให้เอง) ได้รับการแก้ไขแล้วในรุ่นนี้

สิ่งใหม่วันที่ 26 ต.ค. 2542 (รุ่น 2.8)

แผงคลังเว็บไซต์ ความสามารถใหม่นี้ทำให้การท่องเว็บในไทยเบราเซอร์ของคุณสะดวกมากขึ้นกว่าเดิมอีก โดยไทยเบราเซอร์จะแสดงรายการเว็บไซต์ของ Internet Explorer (favorites) ในแผงด้านซ้ายของส่วนแสดงเว็บเพจ เมื่อคุณคลิกบนชื่อเว็บไซต์ในแผงคลังเว็บไซต์ ไทยเบราเซอร์จะนำคุณไปสู่เว็บไซต์นั้น นอกจากนี้ ขนาดของแผงคลังเว็บไซต์ยังปรับได้ตามความสะดวกของคุณ คุณสามารถเรียกใช้แผงคลังเว็บไซต์ได้ทั้งจากคำสั่งในเมนูคลังเว็บไซต์ และปุ่มแสดงแผงคลังเว็บไซต์
ปุ่มล้างบันทึกเว็บไซต์ที่เพิ่งเข้าชม ตามคำเรียกร้อง เมื่อคุณต้องการลบรายการเว็บไซต์ 100 เว็บไซต์ที่คุณได้เข้าชมที่ไทยเบราเซอร์เก็บไว้ ให้ไปที่หน้าต่างตัวเลือกโปรแกรม คลิกที่แท็บตัวเลือกอื่นๆ แล้วกดปุ่มล้างรายการเว็บไซต์ของช่องที่อยู่เว็บ จากนั้นให้ยืนยันการลบรายการเว็บไซต์ แล้วโปรแกรมจะไม่ทำการบันทึกเว็บไซต์ที่คุณเข้าชมอีกจนกระทั่งคุณจะปิดโปรแกรมแล้วเรียกโปรแกรมใหม่อีกครั้งหนึ่ง โปรดระวัง เมื่อคุณเรียกใช้คำสั่งนี้แล้ว ผู้จัดทำขอแนะนำให้ออกจากโปรแกรมทันที เพื่อให้ที่อยู่เว็บในรายการของหน้าต่างที่เปิดไว้ได้รับการลบทิ้งเช่นกัน
แก้ปัญหาขนาดของส่วนต่างๆของหน้าต่างหลักโปรแกรมรุ่นเก่าไม่ปรับตัวทันทีเมื่อคุณเลือกที่จะแสดง/ซ่อนชื่อปุ่มต่าง ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขแล้ว เมื่อคุณสั่งให้ไทยเบราเซอร์ซ่อนหรือแสดงชื่อปุ่ม ขนาดของส่วนต่างๆของหน้าต่างหลักโปรแกรมจะปรับตัวให้เข้าที่โดยอัตโนมัติ
แก้ไขปัญหาโปรแกรม"ชะงัก" ถ้าคุณเปิดหน้าต่างตัวเลือกจากเว็บเพจที่สั่งการเปิดหน้าต่างแบบโผล่อัตโนมัติ (เช่นที่เว็บไซต์ของ Geocities) ต่อไปนี้ เมื่อคุณเรียกหน้าต่างตัวเลือกขึ้นมา การเปิดหน้าต่างใหม่จะถูกระงับไว้ก่อน ทำให้โปรแกรมทำงานต่อไปได้
ปุ่มหยุด และปุ่มเริ่มใหม่ ได้รับการปรับปรุงให้ใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้ตามความเป็นจริง ในรุ่น 2.2 ปุ่มหยุดจะใช้งานไม่ได้เมื่อคุณดึงข้อมูลจากเว็บเพจครบแล้ว บางครั้ง หากคุณไปที่เว็บเพจที่มีการเล่นดนตรีให้ฟัง คุณอาจจะรำคาญและอยากหยุดเสียงดนตรีนั้น ไทยเบราเซอร์ 2.8 ได้ทำให้ปุ่มหยุดกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

สิ่งใหม่วันที่ 10 ต.ค. 2542 (รุ่น 2.2)

เปิดหน้าต่างแบบเต็มจอ เมื่อคุณต้องการอ่านเว็บเพจในพื้นที่เต็มจอภาพของคุณ ให้เลือกคำสั่งจากเมนูเครื่องมือ เมื่อใช้มุมมองแบบเต็มจอเสร็จแล้ว ให้กดปุ่มปิดเพื่อปิดหน้าต่างนั้น ถ้าคุณอยากให้หน้าที่อ่านอยู่ไปอยู่ในหน้าต่างหลักด้วย ให้คลิกเครื่องหมายด้านข้างปุ่มปิด แล้วเลือกคำสั่งที่จำเป็น
เมนูและปุ่มช่วยเติมที่อยู่เว็บได้รับการเพิ่มเติม (http://www.~.net และที่อยู่เว็บในโดเมนของประเทศต่างๆ)
เพิ่มปุ่มใหม่สี่ปุ่มให้กับแถบเครื่องมือหลัก คือปุ่มค้นหาข้อมูลจากช่องที่อยู่เว็บ (ไทยและอังกฤษ) ปุ่มเปิดหน้าต่างเต็มจอ และปุ่มเปิดหน้าแผงสารบัญช่วยท่องเว็บ ทำให้การเรียกคำสั่งเหล่านี้ทำได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
เมนูเครื่องมือและเมนูวิธีใช้ได้รับการจัดให้มีระเบียบมากขึ้น
ข้อผิดพลาด ("บั๊ก" หรือ bug) ที่เกิดขึ้นกับรายการที่สี่ของเมนูคลังเว็บไซต์ที่คุณกำหนดไว้เอง (เมนูเครื่องมือ>>ตั้งค่าตัวเลือกโปรแกรม) แสดงชื่อของรายการแรกแทนได้รับการแก้ไขในรุ่นนี้
เมื่อคุณแก้ไขรายการเว็บไซต์ส่วนตัวในหน้าต่างตัวเลือกโปรแกรม เมนูคลังเว็บไซต์ของหน้าต่างหลักที่เป็นหน้าต่างแม่จะได้รับการปรับปรุงให้แสดงเว็บไซต์ที่คุณเพิ่งกำหนดทันทีหลังจากที่คุณกดปุ่ม OK
หน้าต่างเปิดแฟ้ม HTML ได้รับการปรับปรุง
ปุ่มถอยกลับ เดินหน้า หยุด และเริ่มต้นใหม่ของหน้าต่างหลัก หน้าต่างแผงสารบัญช่วยท่องเว็บ และหน้าต่างวิธีใช้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อตัวเบราเซอร์อนุญาตเท่านั้น (ปุ่มจะใช้ไม่ได้ คือเป็นสีเทา ถ้าโปรแกรมไม่อนุญาต)

สิ่งใหม่วันที่ 1 ต.ค. 2542 (รุ่น 2.0)

รูปโฉมใหม่ : ไทยเบราเซอร์ใช้ปุ่มลักษณะแบน หรือที่เรียกกันว่าแบบไมโครซอฟท์ออฟฟิศ 97 นอกจากนี้คุณยังสามารถกำหนดค่าลักษณะของแถบเครื่องมือเองได้ โดยการคลิกเมาส์ปุ่มขวาบนแถบเครื่องมือ หรือโดยการเลือกคำสั่งจากเมนูเครื่องมือ>>ตั้งค่าตัวเลือกโปรแกรม... เช่น ถ้าคุณต้องการให้เนื้อที่ตัวเบราเซอร์เองมีมากขึ้น คุณสามารถกำหนดให้แถบเครื่องมือมีแต่รูปปุ่มเท่านั้นได้
ไทยเบราเซอร์จดจำค่าต่างๆ ที่คุณได้กำหนดไว้แม้คุณจะปิดโปรแกรมแล้วก็ตาม :
  • เว็บไซต์ที่เพิ่งเข้าชม (URLs' history list) : ไทยเบราเซอร์จะบันทึกที่อยู่เว็บ (URL) ของเว็บไซต์ที่คุณเพิ่งเข้าชมทั้งหมด 100 เว็บไซต์ รายการเว็บไซต์จะได้รับการบันทึกเมื่อคุณปิดหน้าต่างไทยเบราเซอร์ และจะได้รับการบรรจุไว้ในช่องที่อยู่เว็บเมื่อคุณเปิดหน้าต่างไทยเบราเซอร์ใหม่
  • ค่าแถบเครื่องมือ : ค่าการมีรูปปุ่มกับชื่อปุ่มหรือไม่ และค่าการใช้ปุ่มแบบแบนหรือปุ่มแบบธรรมดา
  • ค่าตำแหน่งและขนาดหน้าต่าง : ไทยเบราเซอร์จะจำค่าที่คุณกำหนดไว้กับหน้าต่างสุดท้ายของโปรแกรมที่คุณปิด
  • ค่าตัวเลือกที่อยู่เว็บส่วนตัว (ดูรายละเอียดด้านล่างนี้)
การตั้งค่าชื่อและที่อยู่เว็บไซต์ส่วนตัว : คุณสามารถกำหนดค่าเว็บไซต์ที่จะไปปรากฏที่ด้านล่างของเมนูคลังเว็บไซต์ได้ 10 เว็บไซต์ โดยผ่านทางเมนูเครื่องมือ>>ตั้งค่าตัวเลือกโปรแกรม...
ไทยเบราเซอร์เปิดหน้ารับรองของคุณเมื่อเริ่มต้นโปรแกรมโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้แล้ว คุณสามารถเลือกให้โปรแกรมเปิดเว็บเพจเปล่า หรือเปิดเว็บเพจ/เว็บไซต์ที่คุณกำหนดเองไว้ในกล่องโต้ตอบตัวเลือก (ทางเมนูเครื่องมือ>>ตั้งค่าตัวเลือกโปรแกรม...) ได้เช่นกัน
หน้าต่างบันทึกช่วยจำใช้แฟ้มรูปแบบ RTF (Rich Text Format) : คุณสามารถทำรูปแบบให้กับข้อความของบันทึกช่วยจำไม่ว่าจะเป็นการทำตัวหนา ตัวเอน ตัวขีดเส้นใต้ ขนาด หรือแบบอักษร (ฟอนต์)

กลับไปที่หน้าเดิม