อภิธานศัพท์


ก ข ฃ ฅ ฆ ง ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ธ น ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ศ ษ A-Z


คลิปบอร์ด โปรแกรมซึ่งมีหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราว ข้อมูลนี้จะหายไปเมื่อคุณเริ่มเดินเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ หรือเมื่อคุณปิดเครื่อง

จุดเชื่อม ข้อความที่เราสามารถคลิกบนเว็บเพจเพื่อจะไปยังที่จุดอื่นๆของเว็บเพจ ไปยังเว็บเพจอื่น หรือไปยังเว็บไซต์อื่น

ช่องที่อยู่เว็บ ช่องในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่สำหรับรับข้อความที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ต้องการไป สำหรับในโปรแกรมไทยเบราเซอร์ช่องที่อยู่เว็บอยู่ด้านซ้ายของปุ่มไปที่นั่น

แถบเครื่องมือ แถบซึ่งอยู่ที่ด้านบนของหน้าต่างไทยเบราเซอร์ แถบเครื่องมือบรรจุปุ่มควบคุมที่ทำให้คุณเรียกคำสั่งต่างๆของไทยเบราเซอร์ได้รวดเร็วขึ้น

แถบสถานะ แถบซึ่งอยู่ด้านล่างของหน้าต่างหลัก และหน้าต่างช่วยท่องเว็บของโปรแกรมไทยเบราเซอร์ แถบมีหน้าที่บอกสถานะการทำงานของโปรแกรม เช่นเมื่อคุณชี้ไปที่จุดเชื่อมบนเว็บเพจ ในแถบสถานะ จะมีข้อความบอกคุณว่าที่อยู่เว็บที่แท้จริงที่จุดเชื่อมนั้นชี้ไปถึงคืออะไร

ที่อยู่เว็บ ที่อยู่ที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่บรรจุเว็บไซต์ต่างๆ เช่น http://beum.free.fr/

เบราเซอร์ โปรแกรมซึ่งใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ โปรแกรมเบราเซอร์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดขณะนี้คือ Netscape Navigator/Communicator และ Microsoft Internet Explorer โปรแกรมไทยเบราเซอร์ใช้ตัวช่วยแสดงเว็บเพจของ Microsoft Internet Explorer ช่วยแสดงเว็บเพจ ซึ่งมีข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดกว่าเบราเซอร์อื่นคือการที่เบราเซอร์ตัวนี้สามารถแสดงภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง (ตัดคำที่ท้ายบรรทัด การจัดวางสระและวรรณยุกต์)

แป้นพิมพ์ลัด การกดปุ่มพิเศษของแป้นพิมพ์ (เช่น Ctrl, Alt, ปุ่มวินโดวส์) ร่วมกับปุ่มธรรมดาของแป้นพิมพ์ (เช่น ก ข ค) เพื่อสั่งให้โปรแกรมทำงานที่สามารถจะถูกสั่งให้เริ่มได้จากการกดแป้นพิมพ์ลัดที่กำหนดไว้ เช่นถ้าคุณต้องการใช้การช่วยเติมที่อยู่เว็บประเภท com ในไทยเบราเซอร์ ให้พิมพ์องค์ประกอบสำคัญของที่อยู่เว็บแล้วกดปุ่ม Ctrl+E ไทยเบราเซอร์จะช่วยเติมที่อยู่เว็บและนำคุณไปที่เว็บไซต์นั้นทันที

แผงตั้งค่า โปรแกรมเล็กซึ่งมีไว้สำหรับตั้งค่าต่างๆ เช่นรูปร่างหน้าตาของส่วนติดต่อผู้ใช้ในในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์วินโดวส์ (Windows)

ลิงค์ ดูที่คำว่าจุดเชื่อม

เว็บ ดูที่คำว่าอินเทอร์เน็ต

เว็บเบราเซอร์ ดูที่คำว่าเบราเซอร์

เว็บเพจ เอกสารที่เขียนในรูปแบบภาษา HTML ซึ่งต้องใช้โปรแกรมเบราเซอร์แสดง

เว็บไซต์ จุดรวมเว็บเพจหลายๆหน้าซึ่งเป็นขององค์กร หรือบริษัทเดียวกันเข้าไว้

ส่วนติดต่อผู้ใช้ ตัวกลางระหว่างภาษาคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการ ตามปกติแล้ว ส่วนติดต่อผู้ใช้น่าจะใช้ภาษาแม่ของผู้ใช้ในการติดต่อหรือในการสื่อกับผู้ใช้ แต่ Windows Thai Edition ตั้งแต่รุ่น 3.x, 95, 98 จนถึงรุ่นหน้าที่ยังไม่ได้วางตลาดคือรุ่น 2000 กลับใช้แต่ภาษาอังกฤษ (ทั้งๆที่คนไทยจ่ายค่าลิขสิทธิ์แพงเท่ากับในประเทศอื่นที่มี Windows ในภาษาของเขาจริงๆ)

หน้ารับรอง เว็บเพจที่จะเปิดตัวเองโดยอัตโนมัติเมื่อโปรแกรมเบราเซอร์เปิดตัวขึ้น คุณสามารถกำหนดว่าเว็บเพจใดเป็นหน้ารับรองได้สำหรับโปรแกรม Internet Explorer โดยผ่านทางแผงตั้งค่า Internet (สำหรับ Internet Explorer 4) หรือ Internet Options (สำหรับ Internet Explorer 5)

หลายหน้าต่าง (การทำงานแบบ) ลักษณะการทำงานโดยมีหน้าต่างหลักเรียกว่าหน้าต่างแม่ที่สามารถบรรจุหน้าต่างลูกหลายๆหน้าต่างได้ การทำงานในรูปแบบนี้มีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะการจัดระเบียบให้กับหน้าต่างที่คุณได้เปิดไว้ เพื่อให้การอ่านหรือการเปรียบเทียบเว็บเพจสะดวกขึ้น ไทยเบราเซอร์ทำงานแบบหลายหน้าต่าง พร้อมทั้งให้คุณกำหนดตัวเลือกที่เกี่ยวกับการทำงานแบบหลายหน้าต่างได้

ตัวอย่างการจัดระเบียบหน้าต่าง

อินเทอร์เน็ต (Internet หรือ Internetwork) เครือข่ายระดับโลกที่รวบรวมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความสามารถมากมาย ซึ่งหนึ่งในความสามารถนั้นคือการเสนอหน้ารับรองเว็บเพจต่างๆบนเวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) ซึ่งจุดมุ่งหมายต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกหน้าจะมีเหมือนกันคือการใช้ที่อยู่ URL สำหรับการสร้างจุดเชื่อม (ไฮเปอร์ลิงค์)

โฮมเพจ ดูที่คำว่าหน้ารับรอง

ไฮเปอร์ลิงค์ ดูที่คำว่าจุดเชื่อม

A-Z

HTML ภาษาคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้สำหรับเขียนเว็บเพจ ภาษานี้ใช้ฉลาก (หรือแท็ก) ที่ห้อมล้อมคำที่ต้องการจะทำรูปแบบ หรือให้มีหน้าที่อื่นๆ (เช่นเป็นจุดเชื่อม)

MDI (Multiple-document interface) ดูที่คำว่าหลายหน้าต่าง (การทำงานแบบ)

URL ดูที่คำว่าที่อยู่เว็บ


อภิธานศัพท์ด้านบนนี้ มีจุดประสงค์คือการอธิบายคำศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีง่ายๆ ผู้จัดทำโปรแกรมเป็นผู้เขียนคำอธิบายต่างๆขึ้นมาเอง อภิธานศัพท์นี้มีไว้สำหรับอ้างอิงในโปรแกรมนี้เท่านั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับอ้างอิงในที่อื่นใด


กลับไปที่รายการพยัญชนะ หน้าสารบัญ